การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิถีปลูกผักสมัยใหม่ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนบ้านห้วยด้วน ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม|The Development of Learning Activities on Growing Vegetables in a New Way through the Participation of Network Partners in Ban Huai Duan, Rang Phikun Subdistrict, Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province

Authors

  • นิรันดร์ ยิ่งยวด ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อภิชาติ ใจอารีย์ ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อรวรรณ บุญทัน ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ปิยวัฒน์ สุศีลสัมพันธ์ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ดิสนีย์ แก้วกาญจนานิรัตน์ ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ไพโรจน์ บุญยะวรรณ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • นิศารัตน์ โตค้างพลู นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ปริญญา เพชรก้อน นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุพรรณ บุดดี นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ยลดา ชัยแสง นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • กัญญาวีร์ วงษ์ศรีทรา นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วชิราภรณ์ หุ่นดี นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Keywords:

กิจกรรมการเรียนรู้, วิถีปลูกผักสมัยใหม่, ภาคีเครือข่าย, Learning Activities, Growing Vegetables in a New Way, Network Partners

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสะท้อนผลกิจกรรมการเรียนรู้วิถีปลูกผักสมัยใหม่ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนบ้านห้วยด้วน ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมความพร้อม 2) ระยะออกแบบและดำเนินการจัดกิจกรรม 3) ระยะสรุปและสะท้อนผล ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วย 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1) อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 3 คน มีบทบาทเป็นนักวิจัย และนิสิตปริญญาโทสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน จำนวน 9 คน เป็นผู้ร่วมปฏิบัติการ 2) ภาคีเครือข่าย จำนวน 4 องค์กร มีบทบาทเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการ และ 3) ผู้นำชุมชนและเกษตรกร จำนวน 31 คน มีบทบาทเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบวัดทักษะและแบบวัดความพึงพอใจ หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดำเนินการสรุปและสะท้อนผลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า ภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิถีปลูกผักสมัยใหม่ภายใต้หลักสูตรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์อย่างง่ายในครัวเรือน จำนวน 5 ฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การเพาะเมล็ด 2) การผสมปุ๋ยน้ำ 3) การย้ายปลูก 4) การดูแลรักษา และ 5) การแปรรูป กลุ่มผู้เข้าร่วมมีทักษะการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนการติดตามผลงานหลังการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก ผลการสะท้อนคิด พบว่า เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยการลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่วนข้อเสนอแนะควรนำไปขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ภายในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

 

This action research aimed to develop and reflect the outcomes of innovative learning activities focused on vegetable cultivation, with the active involvement of network partners in Ban Huai Duan, Rang Phikun Subdistrict, Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province. The research followed three distinct phases: 1) preparation, 2) design and implementation, and 3) conclusion and reflection on results. The participants were divided into three sectors: 1) Three lecturers from Kasetsart University served as researchers, along with nine master of Arts students in Human and Community Resource Development from the Faculty of Education and Development Sciences, acting as co-operatives; 2) Four network partners played the role of cooperatives; and 3) One leader and 30 farmers constituted the target group and participants. Data collection involved skill tests and satisfaction questionnaires. Following the completion of the activities, the results were summarized and reflected upon through interviews and group discussions. Data analysis utilized percentage, mean, standard deviation, and content analysis techniques.

The findings indicate that network partners actively engaged in developmental learning activities related to innovative vegetable cultivation methods, specifically focusing on simple hydroponic techniques for home use. The learning process unfolded across five bases: 1) planting seeds, 2) mixing liquid fertilizer, 3) transplanting, 4) maintenance, and 5) processing. The target group demonstrated practical skills at a moderate level, with the highest level of satisfaction. Following the implementation, the follow-up work achieved a commendable level. Reflecting on the results revealed that the activity is both interesting and applicable to daily life, contributing to reduced household expenses. Recommendations include extending these activities to other communities within the university's academic service area.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-03-06

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)