การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมาย และการให้เหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
The development of teaching by using the symbol pictures activity to support the capability of primary students' translation and justification
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการสอน, การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์, ความสามารถการรับรู้, Instructional Model Development, Implementing Photos and Symbol Pictures Activities, Enhance Perception Ability of Grade 1 Studentsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมายและการให้เหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 2) เปรียบเทียบระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเลิศหล้า ถนนกาญจนาภิเษก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมายและการให้เหตุผล และแบบทดสอบวัดระดับความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมายและการให้เหตุผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าt – test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางด้านการรับรู้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี หลักการ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นรับรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นกระบวนการคิด ขั้นที่ 3 ขั้นให้ความหมาย ขั้นที่ 4 ขั้นนำไปใช้ และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ2.นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพและภาพสัญลักษณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมายและการให้เหตุผล มีความสามารถการรับรู้ในด้านแปลความหมายและการให้เหตุผล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
This research aimed to: 1) develop instructional model by implementing photos and symbol pictures activities to enhance perception ability of grade 1 students; and 2) compare levels of perception ability of grade 1 students before and after implementing the developed instructional model. The sample group composed of 30 students studying first grade, 1/1 classroom, second semester of 2016 academic year in Lertlah school, Kanchanapisek Road, Bangkok. The sample group was derived from cluster sampling. The research tools were learning management plan for enhancing perception ability and perception ability test. And, statistics used for data analysis included mean, standard deviation and T-test. The findings indicated that:1. The instructional model implementing photos and symbol pictures activities to enhance perception ability of grade 1 students consisted of: 1) theories/ principles/ concepts of model; 2) objectives of model; 3) process of model composing of 4 steps as follows: perception, thinking process, definition and implementation; and 4) outcomes gained from learning under the instructional model. 2. The post-test results of learners who learn in accordance with the instructional model implementing photos and symbol pictures activities to enhance perception ability were higher than pre-test at the level of .01.