ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ที่มีต่อทักษะการเล่นลูกสองมือล่างกีฬาวอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ, ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์, ทักษะการเล่นลูกสองมือล่างกีฬาวอลเลย์บอล, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง กีฬาวอลเลย์บอลก่อนและหลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเล่นลูกสองมือล่างกีฬาวอลเลย์บอลหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ และกลุ่มควบคุมใช้การสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 58 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 29 คน ได้มาจากสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ ร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00) จำนวน 6 สัปดาห์ 2) แบบประเมินทักษะการเล่นลูกสองมือล่างกีฬาวอลเลย์บอล (มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84) และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1.00) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเล่นลูกสองมือล่างกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเล่นลูกสองมือล่างในกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ระดับมากที่สุด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Academic work group. (2017). Summary form for measuring academic achievement. Sukhothai:
Banmai Charoenphon Pittayakhom School.
Aksorndet, N. (2011). Creating reading comprehension exercises for Mathayom 2 students.
[Master of Education (Curriculum and Instruction), Burapha University]
Aphai, S. (2010). Results of organizing mathematics learning activities on adding and subtracting
numbers in Grade 1 using skill exercises. [Master of Education degree, Mahasarakham
University].
Glen, S. (2021). Test-Retest Reliability. https://www.statisticshowto.com/test-retest-reliability/
Kunaphisit, W. (2018) Curriculum and learning management for physical education
(revised edition 2018). Bangkok: Academic Promotion Center.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok:
The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Pianchob, W. (2018). Collected articles on philosophy, principles,
teaching methods, and measurements for evaluating physical education.
Publisher of Chulalongkorn University [translated].
Polchai, C. (2021). The development of Float serving skill in volleyball game through skill exercises
for grade 10 students. Journal of MCU Ubon, 6(2), 617-628
Promnet, P. (2020). Results of organizing a volleyball sports group program on working skills.
Volleyball teams and skills of vocational college students. [Master of Education
(Curriculum and Instruction), Chulalongkorn University]
Saechung, E. (2021). Results of organizing physical education learning using reinforcement on
learning potential towards responsibility and counter-attacking skills in table tennis.
[Master of Education (Curriculum and Instruction), Chulalongkorn University]
Thongdee, R. (2019). Effects of Cooperative Physical Education Learning Management on
Sportsmanship and Volleyball Skills of High School Students. Srinakharinwirot University.
Bangkok [translated].
Thongnak, S. (2015). Development of activity Package for handbal basicl skills using Davies
Instructional Model for Psychomotor Domain for students of Mathayomthaklaeng school,
Chanthaburi Province. [Master of Education (Curriculum and Instruction),
Rambhai Barni Rajabhat University]
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.