การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมอง ในการประมวลข้อมูลเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6|
The Development of Instructional Information Processing Theory to Develop the Ability in Analytical Thinking for Prathomsuksa Grade 6 Students
关键词:
Development of Instruction, ability in analytical thinking, Information Processing Theory摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นรู้จัก ขั้นที่ 2 ขั้นใส่ใจ ขั้นที่ 3 ขั้นจดจำ ขั้นที่ 4 ขั้นเข้ารหัส ขั้นที่ 5 ขั้นตอบสนอง และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ 2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับ .01
The purposes of this research were 1) to develop of instructional information processing theory model to develop the ability in analytical thinking for student’s prathomsuksa grade 6 and 2) to compare the analytical thinking between before and after using the developed instruction. The sample included fourty Prathomsuksa 6/2 students from the Primary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok. In the 1st semester of academic year 2017 obtained through cluster random sampling. The research instruments involved information processing theory lesson plans and analytical thinking test. Data were statistically analyzed in Mean, standard deviation, and t-test.
The findings revealed as follows. 1. The information processing theory-based instruction for enhancing retention delineated the followings: 1) theory/principle/thoughts of model 2) objectives of the model 3) five stages of instruction – stage 1 recognition; stage 2 attention; stage 3 retention; stage 4 coding; and stage 5 feedback and 4) learning outcomes. 2. The ability in analytical thinking of those who learned through the information processing theory instruction was higher than that before the experiment at significance level .01