ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์กรแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 214 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายจำนวนตามที่ตั้งของอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D.= 0.42) ประกอบด้วย พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ ( = 4.42, S.D. = 0.48) ผลสัมฤทธิ์ของงานผู้นำทางวิชาการ ( = 4.40, S.D. = 0.42) บทบาทหน้าที่ของผู้นำทางวิชาการ ( = 4.38, S.D. = 0.45) และคุณลักษณะผู้นำทางวิชาการ ( = 4.37, S.D.= 0.50) ตามลำดับ 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.41) ประกอบด้วย การเรียนรู้เป็นทีม ( = 4.46, S.D. = 0.48) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ( = 4.42, S.D. = 0.49) การคิดอย่างเป็นระบบ ( = 4.40, S.D. = 0.46) ความรอบรู้แห่งตน ( = 4.39, S.D. = 0.46) และแบบแผนทางความคิด ( = 4.39, S.D. = 0.50) ตามลำดับ และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ของงานผู้นำทางวิชาการ (X4) คุณลักษณะผู้นำทางวิชาการ (X1) และบทบาทหน้าที่ของผู้นำทางวิชาการ (X3) ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา (Ytot) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 72.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂tot = 0.65 + 0.58 (X4) + 0.14 (X1) + 0.13 (X3)
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Arunmek, K. (2021). Instructional Leadership of School Administrator Affectinglearning Organization in
School under the Secondary Educational Service Area Office 9 [Master of Education in Educational Administration, Silpakorn University].
Niyamapa, A. (2018). Academic leadership New era executive potential. Vista inter print.co,ltd.
Office of the Secretariat of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017 - 2036.
https://Www.Onec.Go.Th/Index.Php/Book/BookView/1540.
Ohjinda, N. (2020). A Development of Learning Organization Model in the 21st Century for Small-Sized
Schools under Regional Education Office No. 13 [Doctor of Philosophy, Buriram Rajabhat University].
Panpetch, W. (2017). Learning Organization in Watdonmanao School [Master of Education in
Educational Administration, Silpakorn University].
Prakmanont, A. (2019). Academic leadership of school administrators affecting competencies of
teaching and learning management of private school teachers in Ratchaburi Primary Educational Service Area 2 [Master of Education Thesis in Educational Administration, Nakhon Pathom Rajabhat University].
Pasunon, P. (2014). Reliability of Questionnaire in Quantitative Research. Faculty of Management
Science, Silpakorn University.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline : The art and practice of the learning organization.
Doubleday. [translated]
Phopatthanachai, N. (2021). Learning Organization of Schools under the Supervision of Nong Khaem
District Office [Master of Education in Educational Administration, Rangsit University].
Plabchim, P. (2016). Administrators’ academic leadership affecting school effectiveness under
Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 2 [Master of Education Thesis in
Educational Administration, Nakhon Pathom Rajabhat University].
Praking W. (2018). Learning organization and effectiveness of school under the Secondary
Educational Service Area Office 4 [Master of Education in Educational Administration, Silpakorn University].
Saengloetuthai J. (2021). Educational research methods (revised edition). Faculty of Education,
Nakhon Pathom Rajabhat University.
Saimuang, A. (2022). Instructional Leadership and Academic Administration of School Administrators
under the Pattani Primary Educational Service Area Office 2 [Master of Education Thesis in
Educational Administration, Yala Rajabhat University].
Tumpracha, P. (2022). Academic leadership affecting professional learning community of government
teachers in secondary schools in Nakhon Pathom Province [Master of Education Thesis in Educational Administration, Nakhon Pathom Rajabhat University].
Watthanakasemsakul, S. (2019). The relationship between academic leadership of school administrators
and Learning organization of educational institutions in Yala Educational Service Area Office 3 [Master of Education Thesis, Hat Yai University].
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2025 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.