การพัฒนาชุดการเรียนรู้การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานโปรแกรม แบบจำลองสถานการณ์ ในรายวิชาการโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5|Development of Program Designing Learning Package through Program Flowchart Simulation in Introduction to Programming
关键词:
การออกแบบโปรแกรมโปรแกรมแบบจำลองสถานการณ์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, program designing, simulation program, eleventh grade students摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้การออกแบบโปรแกรมด้วย ผังงานโปรแกรมแบบจำลองสถานการณ์ ในรายวิชาการโปรแกรมเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการออกแบบโปรแกรมภาษาซี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ ฯ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ฯ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชา การโปรแกรมเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 161 คน จาก 4 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงานโปรแกรมแบบจำลองสถานการณ์จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบเรื่องการออกแบบโปรแกรมภาษาซี แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ต่อชุดการเรียนรู้ แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 12 ข้อ โดยเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้กำหนดไว้ที่ 80/80 และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบวิเคราะห์โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้ฯ มีประสิทธิภาพ 82.07/81.14 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนเรื่องการออกแบบโปรแกรมภาษาซีหลังการใช้ชุดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ชุดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(t (160) = 61.96, p<.001) และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียนรู้ฯอยู่ในระดับมาก ( 4.25; 0.60)
This research aimed to develop and validate efficiency of a program designing learning package through program flowchart simulation in Introduction to Programming Course for eleventh grade students, to compare between pre-test and post-test average scores, and to study students’ satisfactions after implementation of the learning package. Research target group was 161 eleventh grade students from 4 classrooms; who took the Introduction to Programming Course duringthe first semester of 2012 academic year. They were purposively selected. The research instruments consisted of 1) six units of program designinglearning package through program flowchart simulation , 2) C language program designing test; 30 four-response multiple choice questions , and 3) student satisfaction questionnaire; 10 Likert scale questions. The efficiency of the learning package was set at criterion 80/80 and the comparison of the students’ learning achievement between pre-test and post-test average scores was analyzed using dependent sample t-test. Research results revealed that 1) the efficiency of the learning package is 82.07/81.14 which was higher than the criterion 80/80, 2) the students’ post-test average score was higher that pre-test average score significantly (t (160)= 61.96, p<.001), and 3) students’ satisfaction after implementation of the learning packagewas at high level ( 4.25; 0.60).