ปัญหาการทุจริตกับแนวคิดระบบการควบคุมภายใน |Fraud Problem and Internal Control Concept

ผู้แต่ง

  • ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ นักวิจัยอิสระ
  • สายทิพย์ จะโนภาษ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • พรชัย วีระนันทาเวทย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัชนิกร วรรณสถิตย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยความเสี่ยง การทุจริต ระบบการควบคุมภายใน, Risk Factors, Fraud, Internal Control

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี มีปัญหาหลายประการไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่มีปัญหาหนึ่งที่ยังเป็นปัญหาจากอดีตจนมาสู่ปัจจุบัน คือ “ปัญหาการทุจริต” (Fraud Problem) ที่ได้ถูกหยิบยกกล่าวขานกันอยู่เสมอในฐานะที่เป็นปัญหาต่อสังคมและประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา การทุจริต (Fraud) ได้เข้าไปฝังตัวในระบบการบริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชน จนกลายมาเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (Heidenheimer, 1989 Alatas, 1990 citing in Williams, 2000) ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากลไกการบริหารงานภาครัฐถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมืองและเป็นการแทรกแซงที่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตจึงเป็นการบริหารราชการแผ่นดินที่ตอบโจทย์ผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชนการแทรกแซงดังกล่าวทำให้ภาครัฐขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน ขาดหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) ระบบการควบคุมภายในไม่มีประสิทธิภาพ (Internal Control System) และยังรวมถึงความเสื่อมถอย ผิดศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในสายตาสาธารณะชนทั่วโลก ซึ่งปัญหาดังกล่าวนับวันยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “ปัจจัยใด สาเหตุใด ที่มาใด ที่เป็นผลก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตหรือปัจจัยสาเหตุที่มา เป็นผลมาจากระบบการบริหารจัดการองค์กรหรือพฤติกรรมของมนุษย์” ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิชาการต่างให้ความสำคัญในการศึกษางานวิจัยเพื่อค้นหา ปัจจัย สาเหตุ ที่มาของการเกิดการทุจริตเพื่อนำมากำหนดเป็นแนวทางในการป้องกันการทุจริตภายในองค์กร

Thailand has been experiencing difficulties in both the ecological and technological changes. The problematic factors such as socio-economic issues, socio-environmental issues, environmental changes and so on, contribute to the experiencing difficulties in Thailand. Among these problems, fraud has long persisted since pre-historic age. Fraud issues have never been unheard of and yet, they have always remained the unattended subject in both the developing as well as the developed countries. Fraud has invaded both the governmental and private organizations and it needs immediate attention (Heidenheimer, 1989 Alatas, 1990 citing in Williams, 2000). From past to present, it is observed that internal management systems within the governmental organizations are intervened by the members of the political parties. The intervention is associated with corruption where lands are used for political importance of self-interest, rather than for the public socio-economic development. The intervention led to the lack of good governance efficiency, improper land management, and corrupted internal management systems. Such intervention by the political parties led to the deterioration of good morals and ethics, resulting in the loss of reputable images and respects across the globe (William, 1964). These worsening problems require immediate attentions and have led to the question of “What factors and causes are responsible for the fraud; the internal management systems or the human behavior?. To understand the origin of fraud, we investigated the underlying risk factors and causes, in order to address them as the guideline for preventing future fraud.

 

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##