ปัญหาการคุ้มครองชั่วคราวในคดีผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรัสวดี แสนสุข คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นิรันดร์ ทรงนิรันดร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปรีชาวัชร์ เศวตภัทรไพศาล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พีรพจน์ ปิ่นทองดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การคุ้มครองชั่วคราว, การคุ้มครองผู้บริโภค, คดีผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งจะศึกษาถึงปัญหาอันเกี่ยวด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในคดีผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 โดยการศึกษาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครองชั่วคราวในคดีผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาถึงหลักวิธีพิจารณาในคดีผู้บริโภค 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาในวิธีการคุ้มครองชั่วคราวในคดีผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยคุณภาพค้นคว้าจากเอกสารทั้งของไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า การใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหรือการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาในคดีผู้บริโภคนั้นมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่จะระงับข้อพิพาทของฝ่ายคู่สัญญา โดยการแก้ไขปัญหาในการดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายในการคุ้มครองชั่วคราว ปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของศาลและเจ้าพนักงานคดี ปัญหาเกี่ยวกับช่วงเวลาการคุ้มครอง และปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาในการยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติมาตราที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบและความเชี่ยวชาญของบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคยังเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

เจริญชัย อัศวพิริยอนันต์. (2555). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3-4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บานานา สวีท.

เจษฎา เพชรแอน. (2555). คุ้มครองชั่วคราวคดีผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/144714.pdf

ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์. (2551). วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ลักษณะพิเศษและข้อสังเกตที่สำคัญ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://www.jla.coj.go.th

ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์. (2551). คดีผู้บริโภค ลักษณะและสาระสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก ttps://sites.google.com/site/thnaykrungtheph

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2560). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุจิรา มีชัย. (2557). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราว. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ. (ม.ป.ป.). (2559). วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2564, จาก https://www.peesirilaw.com

วนิดา อินทรอำนวย. (2561). คดีผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก https://www.parliament.go.th

วินัย หนูโท. (2551). คำอธิบายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

สมชาย จุลนิติ์. (2557). คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่. (2553). เกร็ดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตอักษร.

สรียา กาฬสินธุ์. (2562). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเมศร์ พันธุ์โชติ. (2555). การใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหรือการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา. (หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 10). สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2564, จาก https://library.coj.go.th/th/media/43216/43216.html

สุษม ศุภนิตย์. (2554). กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อภิรัฐ บุญทอง. (2562). กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

อิดชาห์เรส หวังสบู. (2558). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับบทนิยามคดีผู้บริโภค : ศึกษากรณีสินเชื่อส่วนบุคคล. (สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

เอื้อน ขุนแก้ว. (2560). คำอธิบายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามพับลิชชิ่ง.

สุภัทร แสงประดับ. (2556). ปัญหากฎหมายในการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

Nottage, L. (2009). The new Australian consumer law: what about consumer ADR?. Law and Justice Journal, 9(2), 176-197.

Svantesson, D. J. B. (2018). Enter the quagmire–the complicated relationship between data protection law and consumer protection law. Computer law & security review, 34(1), 25-36.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##