The ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา สุขรัตนเจริญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพ็ญวรา ชูประวัติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู, สมรรถนะดิจิทัล, ความต้องการจำเป็น, โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง โดยมีประชากร คือ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์โภชชลาดกระบัง จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลของครูทั้ง 6 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมทางวิชาชีพโดยใช้ดิจิทัล 2) ความสามารถในการเลือกใช้ข้อมูลดิจิทัล 3) การสอนและการเรียนรู้โดยดิจิทัล 4) การประเมินด้วยระบบดิจิทัล 5) การเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลให้แก่ผู้เรียน 6) การอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีสมรรถนะดิจิทัล มีสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวม ผลการจัดลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบังจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินด้วยระบบดิจิทัล ความสามารถในการเลือกใช้ข้อมูลดิจิทัล การอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีสมรรถนะดิจิทัล การสอนและการเรียนรู้โดยดิจิทัล การมีส่วนร่วมทางวิชาชีพโดยใช้ดิจิทัล และการเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลให้แก่ผู้เรียน ตามลำดับ

            จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะดิจิทัล
เพื่อพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

BeartaiBRIEF. (2023). In, the higher you study! Even colder! Why don't new graduates have jobs? https://www.youtube.com/watch?v=XmGGEbnEysQ&t=60 [translated]

Bizview, T. (2022). Useless Class How to adapt to survive in the AI era. https://workpointtoday.com/useless_class/ [translated]

Caena, F., & Redecker, C. (2019). Aligning teacher competence frameworks to 21st century challenges: The case for the European Digital Competence Framework for Educators (Digcompedu). European journal of education, 54(3), 356-369.

Champathong, A. (2013). Digital Sphere, the new world of digital media. http://blog.nation.ac.th/?p=2493

Chunil, C. (2019). The ultimate application for evaluating learning outcomes. https://www.scimath.org/article-technology/item/10115-2019-04-19-03-47-12

Namphet, N. (2023). Teacher skills towards understanding for student learning. https://www.eef.or.th/article-191223/

Office of the Basic Education Commission. (1999). National Education Act 1999. https://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542.pdf [translated]

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

Pakotang, J. (2019). Leaders in the digital age: Communication strategies for success. Journal of the Professional Development Association Educational Administration of Thailand, 1(2), 35-46. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/250831/170381

Panich, W. (2014). Ways to create learning for students in the 21st century. Walailak Journal of Learning Innovations, . Walailak Journal of Learning Innovations, 1(2), 3-14.

Phothong, W. (2018). Technology and lifelong learning for teachers. Naresuan University Community Development Research Journal, 11(2), 18-16.

Phuworawan, Y. (2021). A new way of learning. New way of life and digital intelligence. https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=3&l=3

Plookpanya. (2021). Measuring and evaluating results in learning management using technology as a base. Foundation for the Future of Education. https://www.trueplookpanya.com/education/content/87884/-teamet- [translated]

Rattanakosinsomphotladkrabang School. (2022). Self-evaluation report of educational institutions, academic year 2022. [translated]

Sartprasert, J., & Chindapol, W. (2023). Managing Online Learning Effectively in the Digital AgeEpidemic SituationCoronavirus Disease 2019 (Covid-19) Demonstration School. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 9(5), 337-347.

Sirisak, K. (2016). Research on the teaching professional curriculum for Develop guidelines for promoting master's degree digital competencies [Master of Education, Chulalongkorn University].

Thongsawat, S., & Thawinkarn, D. (2023). Development model towards becoming an organization. Digital for schools expands opportunities Under the jurisdiction of the Educational Service Area Office Nakhon Ratchasima Primary Education, Area 3. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 34(1), 85-98.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย