ปัจจัยที่กำหนดความเต็มใจจ่ายสำหรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมาก งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่ามีปัจจัยใด ที่มีอิทธิพลต่อประชาชนชาวไทยในการร่วมจ่ายเงินเพื่อให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 การศึกษาได้เก็บแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยจำนวน 693 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการระบาดของโรค COVID-19 ระลอกที่ 3 และใช้การวิเคราะห์ถดถอยโทบิท (Tobit Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 90 ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดความเต็มใจจ่ายสำหรับวัคซีนในการป้องกันโรค COVID-19 ทางบวกได้แก่ ความตระหนักต่อการดำเนินชีวิต การมีผู้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในครอบครัว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน ความต้องการฉีดวัคซีน เพศ การศึกษา รายได้ส่วนบุคคล การมีประกันสุขภาพ และการอาศัยอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังสูง ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลในทางลบได้แก่ การที่ตนเอง/คนในครอบครัวเคยป่วย ด้วยโรคนี้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ป่วย Covid-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard=main.
กัลยา วานิชยบัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนชัย แสนลัง กรกช สร้อยทอง กฤษณา ทวีทรัพย์ ธีรินทร์ ลาน้ำเที่ยง ภฤศ อารีย์สว่างวงศ์ วรรณิสา โกมลไพศาล ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ และฐานพัฒน์ ดิฐสถาพรเจริญ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 229-238.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19: โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_coverStory.aspx.
ธิฏิรัตน์ ทิพรส. (2558). การประยุกต์ใช้ตัวแบบถดถอยโทบิท-พีซไวส์ กับข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีค่านอกเกณฑ์. สุทธิปริทัศน์, 29(91), 47-63.
ปณิตา ครองยุทธ, จินดา คำแก้ว, ปฐวี สาระติ, และวิรินรัตน์ สุขรี. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(6), 815-822.
มนัสนันทุ์ ธนวิกรานต์กูล, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรสทิพย์ มงคลกุล, และนพพร โหวธีระกุล. (2558). การยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วชิรสารการพยาบาล, 17(2), 15-30.
เรณู สุขารมณ์ และชุติมา สุรรัตน์เดชา. (2543). การวิเคราะห์ข้อมูล. ใน ประมวลสาระชุดวิชาวิทยานิพนธ์ (60798) หน่วยที่ 12 นนทบุรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิศักดิ์ เครือพิมาย และรัตน์ศิริ ทาโต. 2559. ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HIV ในนักศึกษาชายรักชาย. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 102-117.
Abiye, S., Yitayal, M., Abere, G., and Adimasu, A. (2019). Health professionals’ acceptance and willingness to pay for Hepatitis B Virus vaccination in Gondar City Administration Governmental Health Institutions, Northwest Ethiopia. BMC Health Services Research. 19, Article No. 796. Retrieve from https://doi.org/10.1186/s12913-019-4671-3.
Cameron, T.A. (1988). A new paradigm for valuing non-market goods using referendum data: Maximum Likelihood Estimation by Censored Logistic Regression. Journal of Environmental and Management, 15, 353-379.
Garcia, L.Y. and Cerda, A.A. (2020). Contingent assessment of the covid-19 vaccine. Vaccine, 38, 5424-5429. Retrieve from https://doi.org/10.1016/j.vaccine.2020.06.068.
Hanemann, M. (1984). Welfare evaluations in contingent valuation experiments with discrete responses. American Journal of Agricultural Economics, 66, 332-341.
Nguyen, L.H., Tran, B.X., Do, C.D., Hoang, C.L., Nguyen, T.P., Dang, T.T., Vu, G.T., Tran, T.T., Latkin, C.A., Ho, C.S., and Ho, R.C. (2018). Feasibility and willingness to pay for dengue vaccine in the threat of dengue fever outbreaks in Vietnam. (2018). Patient Prefer Adherence, 12, 1917-1926. Retrieved from https://doi.org/10.2147/PPA.s178444.
Palanca-Tan, R. (2008). The demand for a dengue vaccine: A contingent valuation survey in Metro Manila. Vaccine, 26(7), 914-923. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.vaccine.2007.12.011.
Sarker, A.R., Islam, Z., Sultana, M., Sheikh, N., Mahumud, R.A., Islam, T., Meer, R.V.D., Morton, A., Khan, A.I., Clemens, J.D., Qadri, F., and Khan, J.A.M. (2020). Willingness to pay for oral cholera vaccines in urban Bangladesh. PLOS ONE, 15(4), e0232600. Retrieved from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0232600.
Tobin, J. (1958). Estimation of relationships for limited dependent variables. Econometrica, 26(1), 24-36. Retrieved from https://doi.org/10.2307/1907382.
Yeo, H.Y. and Shafie, A.A. (2016). The public acceptance and willingness-to-pay (WTP) of dengue vaccine in Penang, Malaysia: Assessment with a contingent valuation study. Value in Health, 19(7), A913. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jval.2016.08.130.
Yoda, T. and Katsuyama, H. (2021). Willingness to receive covid-19 vaccination in Japan. Vaccines (Basel), 9(1), 48. Retrieved from https://doi.org/10.3390/vaccines9010048.