เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยร้านเหล้า Alcoholic Economics

Main Article Content

วรานันต์ ตันติเวทย์
เอกภัทร ลักษณะคำ
ฉัตรกุล คงตระกูล

บทคัดย่อ

ปัญหาร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน แม้จะมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พุทธศักราช 2551 มาตรา 27 แต่สภาพปัญหาไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้นผู้เขียนจึงได้จัดทำบทความนี้ขึ้นเพื่อนำเสนอมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นคือ (1) แนวทางการแก้ไขปัญหาร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศ (2) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) (3) มาตรการทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดการปัญหามลพิษ และ (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาด้วยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์


ปัญหาร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสถานบันเทิงรอบสถานศึกษามีผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญจำนวน 2 ฝ่าย คือ ผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สามารถกำหนดมาตรการเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ทั้งทางด้านผู้บริโภค และผู้จำหน่าย เช่น การบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดอัตราภาษี และการจำกัดเขตการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เนื่องจากความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษที่เบา ตลอดจนข้อจำกัดด้านความพร้อมของบุคลากรและงบประมาณ คณะผู้เขียนจึงนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้ (1) การนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์โดยอาศัยหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (PPP) เป็นกลไกประยุกต์ร่วมกับมาตรการเดิมที่บังคับใช้อยู่ เช่น ภาษีมลพิษ และระบบการวางประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงผ่านเครื่องมือต่างๆ (2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


Liquor stores around university areas have been a long and protracted problem in Thailand. Despite the Section 27 under Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551, selling alcoholic beverages around universities continues to persist and wide-spreading. The authors, therefore, proposes economic measures to deal with this problem. This article was divided into 4 sections: (1) measures for solving problem: cases of Thailand and other countries (2) Polluter Pays Principle: PPP (3) economic measures and (4) suggestions for this problem with economic measures.


The stakeholders in this problem are consumers and sellers. Solutions of this problem would be government measures to change consumer behaviors and control seller behaviors through law enforcement, taxation and retail zoning. Given the non-compliance and ineffectiveness of the existing measures, we suggested as follows: (1) introducing the economic instruments based on Polluter Pays Principle which include pollution taxes and performance bonds, should be applied together with existing measures to effectively demonstrate a social cost. (2) changing consumer behaviors to consume less alcoholic beverages should mitigate the problem.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ตันติเวทย์ ว., ลักษณะคำ เ., & คงตระกูล ฉ. (2014). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยร้านเหล้า: Alcoholic Economics. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 1(1), 84–95. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/961
บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

Most read articles by the same author(s)