แนวทางการสร้างศักยภาพการวิจัยของครูในชุมชนวิชาชีพ เครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ |Guidelines of Teacher Research Capacity Building in Science Teacher Network Professional Community

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ แย้มทิม ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

Teacher Research Capacity Building, Community-Based Participatory Research, Development of Guidelines, Professional Community, Science Teacher Network

บทคัดย่อ

การสร้างศักยภาพการวิจัย เป็นความพยายามที่จะยกระดับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยของบุคคลและกลุ่มบุคคล เพื่อช่วยให้สามารถปรับปรุงพัฒนาการวิจัยทางการศึกษาทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาทัศนะของครูในชุมชนวิชาชีพเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างศักยภาพการวิจัยของครูในชุมชนวิชาชีพเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นสมาชิกของเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์จำนวน  1 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน และครูวิทยาศาสตร์จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยมีดังนี้
1) ทัศนะของครูที่มีต่อการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่าครูส่วนใหญ่เชื่อว่า การวิจัยของครูสามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เนื่องจากการวิจัยจะทำให้ครูแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ตรงประเด็น ส่วนสภาพการทำวิจัยของครูในชุมชนวิชาชีพเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างจริงจังมีค่อนข้างน้อยและไม่ต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากครูขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยที่ถูกต้อง รวมทั้งครูมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมากทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการวิจัย 2) แนวทางการสร้างศักยภาพการวิจัยของครูที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 แนวทาง ได้แก่ 1) การกำหนดแผนและโครงการเกี่ยวกับการสร้างเสริมศักยภาพการวิจัยของครู 2) การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะ และความเชื่อมั่นในการวิจัยของครู โดยเน้นการวิจัยจากปัญหาการจัดการเรียนรู้จริง 3) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำวิจัยของครู 4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานต้นสังกัด และมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทในการพัฒนาครู 5) การนิเทศกำกับติดตามงานวิจัยเป็นระยะ ๆ เพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการวิจัย 6) การเผยแพร่ผลการวิจัยด้วยวิธีการหลากหลาย และ 7) การยกย่องเชิดชูครูที่มีผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์

Research capacity building is an attempt to elevate the research expertise of individuals and groups of individuals, to help improve the development of educational research both qualitative and quantitative. The objectives of this research were 1) to study the attitudes of teachers in Science Teacher Network on research to develop learner cognition, and 2) to develop guidelines of teacher research capacity building in Science Teacher Network professional community. The participants were 12 Science Teacher Network members, consisting 1 educational supervisor, 1 school administrator, and 10 science teachers. Data were collected by focus group and analyzed by content analysis. The research findings are as follows: a) the teacher perceptions on research to improve the learning of the students, it was found that most teachers believe that the researches by teachers can help students develop their cognition because it allows teachers to solve students learning problems right to the point. The condition of the teacher seriously doing research in Science Teacher Network to develop cognition, there are quite still few and far in between due to the lack of accurate knowledge and understanding in conducting research, teachers having significant amount of workload resulting in not having enough time to conduct researches. b) there are 7 guidelines for teacher research capacity building; 1) setting the plans and project on teacher research capacity building, 2) practical study to promote teacher knowledge, skills and confidence in conducting the research by focusing the research on the real problems of learning, 3) to promote the exchange of teacher research experiences, 4) creating cooperation networks of the relevant authorities both the original affiliation and the universities that play a role in teacher development, 5) periodically supervise and monitor research to provide guidance to help resolve problems in the process of research, 6) diverse form of  research findings publication, and 7) honor teachers whose research is apparent.

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)