การกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อพระสงฆ์ที่อาบัติปาราชิก กรณีอวดอุตริมนุสธรรม
คำสำคัญ:
ความรับผิดทางอาญา, พระสงฆ์ , อาบัติปราชิกบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของการอาบัติปาราชิกกรณีอวดอุตริมนุสธรรม 2) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการกระทำความผิดของพระสงฆ์ภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 3) กำหนดความรับผิดทางอาญาต่อพระสงฆ์ที่ประพฤติผิดกรณีอวดอุตริมนุสธรรม ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษทางอาญาต่อพระสงฆ์ที่อาบัติปราชิกกรณีอวดอุตริมนุส ธรรม จึงทำให้พระสงฆ์บางรูปจงใจละเมิดพระวินัยและไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ผู้คนเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนา จึงจำเป็นจะต้องศึกษาถึงหลักความรับผิดทางอาญาของพระสงฆ์ที่อาบัติปาราชิก กรณีอวดอุตริมนุสธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโทษเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่า การอวดอุตริมนุสธรรมของพระสงฆ์มีโทษคือ อาบัติปาราชิก มีผลให้พระสงฆ์นั้นขาดจากความเป็นพระและไม่สามารถกลับมาบวชได้อีก ในยุคสมัยกฎหมายตราสามดวงได้มีการบัญญัติความผิดของพระสงฆ์ในกรณีอวดอุตริมนุสธรรมไว้ในกฎหมายบ้านเมือง ภายหลังได้มีการยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อพระสงฆ์กระทำผิดจึงได้รับเพียงโทษตาม พระวินัยเท่านั้น แต่ไม่มีโทษตามกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา จึงควรแก้ไขกฎหมายให้มีความผิดและโทษทางอาญา จึงจะทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสม และสามารถรักษาพุทธศาสนาให้อยู่ในความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 (พ.ศ. 2506) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา.
คฑารัตน์ เฮงตระกูล. (2550). การศึกษาป้องกันและควบคุมอาญชากรรมในทัศนะคริสต์ศาสนาพระพุทธศาสนา และกฎหมายตราสามดวง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โชติ ทองประยูร. (2535). คำบรรยาย กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมพร้อมด้วยเชิงอรรถกฎหมายคณะสงฆ์ คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2549). หลักกฎหมายอาญาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2522). คำบรรยายกฎหมายพระสงฆ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ. (2548). พระวินัย 227 พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ประยุทธ์โต ปยุตโต). (2538). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ประยุทธ์โต ปยุตโต). (2549). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79, ตอน 115 ก, ฉบับพิเศษ. หน้า 29–44.
พระราชรัตนกวี (ไสว สุจิตฺโต ). (2523). คำอธิบายกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่11 (พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ภาควิชาการและภาคปฏิบัติ พร้อมด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ธีรพงษ์การพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วิสาร พันธุนะ. (2538). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 2 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน (ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปภัมภ์.
แสวง อุดมศรี. (2543). พระวินัยปิฎก 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อดุลย์ นุแปงถา. (2552). การดำเนินการทางวินัยกับพระสงฆ์ที่กระทำผิดวินัย: ศึกษาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
อธิราช มณีภาค. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมในพระวินัยปิฎกกับกระบวนการยุติธรรมของกฎหมายไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.