The Role of Confirmatory Factor Analysis (CFA) in Structural Equation Modeling (SEM) บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจําลองสมการโครงสร้าง

Main Article Content

Jaruporn Tangpattanakit
Panik Senariddhikrai

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
            การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) หรือ CFA ถือได้ว่าเป็นการวิเคราะห์ทางสถิติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling ) ถือว่าเป็นเทคนิคในการทดสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแปรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันตัวแปรหรือตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ โดยมีการอาศัยการรวมตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันมากำหนดเป็นองค์ประกอบ (Factor) ที่อยู่เบื้องหลังตัวแปรเหล่านั้นตามที่ผู้วิจัยศึกษาไว้ โดยที่การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ขององค์ประกอบว่าตัวแปรเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กัน หรือแท้จริงแล้วตัวแปรเหล่านั้นอาจจะต่างองค์ประกอบกันและไม่มีความสัมพันธ์กันเลย มากกว่านั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งเพื่อการพัฒนาทฤษฎีหรือตัวชี้วัดใหม่ หรือการทดสอบหรือยืนยันทฤษฎีหรือตัวชี้วัดเดิม ทำให้ผู้วิจัยสามารถเข้าใจถึงโครงสร้างระหว่างตัวแปร ลดความคลาดเคลื่อน และสามารถนำสถิติมาใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: แบบจำลองสมการโครงสร้าง, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, การวิเคราะห์ทางสถิติ


ABSTRACT
           Confirmatory component analysis or CFA is a statistical analysis included in structural equation modelling (SEM). It is regarded as a method for testing the consistency of various variables in order to validate other variables or indicators. In each constituent by combining similar variables to discover the component underlying those variables. The aim of this confirmatory component analysis is to validate that the components to which those variables are associated are legitimate constructs. Alternatively, these variables may represent entirely unrelated components. In addition, confirmatory factor analysis may be utilised to build new hypotheses or indications, testing or verifying the original hypotheses or indications enables the researcher to comprehend the relationship between variables, decrease variance, and use statistics efficiently.
Keywords: Structural Equation Modeling, Confirmatory Factor Analysis, Statistic Analysis

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Tangpattanakit, J., & Senariddhikrai, P. (2022). The Role of Confirmatory Factor Analysis (CFA) in Structural Equation Modeling (SEM): บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจําลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 99–110. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jmsku/article/view/5185
บท
Articles