รูปแบบการจัดการความรู้สถานศึกษาด้วยบทเรียนหนึ่งประเด็น|KnowledgeManagement Model of Academy with One Point Lesson

Authors

  • ธนรัตน์ แต้วัฒนา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์
  • ธีรศักดิ์ สร้อยคีรี

Keywords:

รูปแบบการจัดการความรู้ บทเรียนหนึ่งประเด็น

Abstract

     The purpose of this study were to develop a knowledge management model and to evaluate suitability of knowledge management model for faculty of education and development sciences KasetsartUniversity KamphaengSaenCampus. The research study consisted of six stages: 1) explore theory and document to related knowledge management model, 2) focus group meeting with the KM committee to find out the process of solving routine problems, 3) develop a suitable

knowledge management model for routine process of faculty, 4) present to KM committee to validate suitability of KM model, 5) present preliminary results of KM model to a panel of experts in KU-KM day to determine the KM model, and 6) implementation and evaluate suitable of KM model. The sample groups were lecturer and administrators who are KM committee of faculty of education and development sciences KasetsartUniversity KamphaengSaenCampus 14 persons.

     The results of the study were as follows : KM model was develop base on Modes of the knowledge creation of Nanoka and One point lesson (OPL) of Total Productive Maintenance (TPM), in which there were brought made flow process chart of knowledge management to KU-EDS model. All eight stages were as follows; 1) targeting, 2) designing knowledge tool, 3) tacit knowledge to explicit knowledge, 4) knowledge checking, 5) information storage, 6) motivating, 7) share and learn on website, and 8) embedded knowledge in routine work. The results of suitable of KU-EDS model is average score 4.00 at high suitable level. The finding, the easy to use and the benefit to use are high level to very high level.

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ และเพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้สำหรับคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องรูปแบบการจัดการความรู้ 2) ประชุมสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะ เพื่อศึกษากระบวนการของการแก้ปัญหางานประจำ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับการดำเนินงานประจำของคณะ 4) เสนอรูปแบบการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้นต่อคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและดำเนินการทดลองดำเนินการเบื้องต้น 5) นำผลการดำเนินการทดลองเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในงาน KU-KM Day ครั้งที่ 3ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6) ใช้งานและประเมินความเหมาะสมกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นอาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ที่เป็นคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จํานวน14 คน   

     ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ใช้หลักการของโมเดล Modes of the Knowledge Creation ของโนนากะ และการใช้เครื่องมือบทเรียนหนึ่งประเด็น (One Point Lesson: OPL) ของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมนำมาสร้างแผนภาพผังความคิดของกระบวนการของการจัดการความรู้ได้รูปแบบการจัดการความรู้KU-EDS KM Modelซึ่งมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การออกแบบเครื่องมือถอดความรู้ 3) บุคลากรถอดความรู้ 4) การตรวจสอบองค์ความรู้5) การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ 6) การสร้างแรงจูงใจบุคลากร 7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ 8) การเกิดองค์ความรู้ที่ฝังในงานประจำ ผลการประเมินภาพรวมความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00 มีความเหมาะสมอยู่ระดับมาก และการนำเอารูปแบบการจัดการความรู้ KU-EDS KM Modelไปใช้งานมีระดับคะแนนความคิดเห็นว่ามีความง่ายต่อการนำไปใช้งานและมีประโยชน์การใช้งานระดับมากถึงมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-07-07

Issue

Section

บทความวิจัย