การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

The Development of Learning Achievement in Mathematics on Pythagorean Theorem by Integrating STEM Education of 8th Graders of Kanchanapisekwitthayalai Suphanburi School

Authors

  • ปิยวรรณ ประหยัดทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พินดา วราสุนันท์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุนทราภรณ์ อุ่นวรรณธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทฤษฎีบทพีทาโกรัส, สะเต็มศึกษา, leaning achievement, Pythagorean Theorem, STEM Education

Abstract

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส

2) เพื่อศึกษาทักษะสะเต็มศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน 41 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ แบบประเมินทักษะสะเต็มศึกษาประเมินโดยครู 2 ท่านที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ผู้วิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 12 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ให้คะแนนทั้ง 2 ท่านด้วยสูตร Intraclass Correlation Coefficient (ICC)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

     1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

     2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส มีทักษะสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับดี(M=14.92) โดยค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ให้คะแนนด้วยสูตรหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intraclass Correlation Coefficent : ICC) เท่ากับ 0.546 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับดี (M=4.31)

 

     The purposes of the research were 1) to study 8th graders’ mathematics leaning achievement by integrating STEM Education in Pythagorean Theorem, 2) to study 8th graders’ STEM skill by integrating STEM Education in Pythagorean Theorem, and 3) to study 8th graders’ satisfaction in integrating STEM Education in Pythagorean Theorem. The research samples were 41 students who were studying in 8th grade at Kanchanapisekwitthayalai Suphanburi School. The research instruments consist of three leaning plans based on integrating STEM Education in Pythagorean Theorem. Evaluation methods include 20 multiple choice tests, STEM skills tests, which were evaluated by 2 mathematics teachers who were not researchers, and students’ satisfaction test. The researcher collected the data in the total of 12 learning periods and analyzed data with mean, standard deviation, t-test, and Consistency between the two assessors by Intraclass Correlation Coefficient: ICC.

     In conclusion, the research finding reveals that

     1) the 8th graders who learned on integrating STEM Education in Pythagorean Theorem had post-test achievement better than pre-test at the statistically significant level of .01

     2) the 8th graders who learned on integrating STEM Education in Pythagorean Theorem had STEM skill in the level of good (M=14.92) and Intraclass Correlation Coefficient : ICC was 0.546 at the statistically significant level of .05

      3) the 8th graders were satisfied with integrating STEM Education in the level of good
(M=4.31)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-03-08

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)