การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Mathematics Learning Achievement on Ratio, Proportion and Percentage by Integrating STEAM Education of 7th Graders

Main Article Content

ชนิตา ปานรอด
พินดา วราสุนันท์
สุนทราภรณ์ อุ่นวรรณธรรม

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา 2) เพื่อศึกษาทักษะสะตีมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุพรรณบุรี จำนวน 33 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะสะตีมศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ให้คะแนนทั้ง 2 ท่าน ด้วยสูตร Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาเรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาเรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละมีทักษะสะตีมศึกษาอยู่ในระดับดี ( M = 10.17 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน) โดยค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ให้คะแนนด้วยสูตรหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายใน เท่ากับ 0.88


3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาอยู่ในระดับมาก ( M = 4.35)


 


The research purposes were 1) to study 7th grader’ mathematics learning achievement by integrating STEAM Education on Ratio, Proportion and Percentage, 2) to study 7th graders’ STEAM skills after integrating STEAM Education on Ratio, Proportion and Percentage, and 3) to study 7th graders’ satisfaction in integrating STEAM Education on Ratio, Proportion and Percentage. The research samples were 33 7th graders at Kanchanapisekwitthayalai Suphanburi School. The research instruments consist of learning plans based on STEAM Education, multiple-choice exams, STEAM skills assessment, and satisfaction survey. The data was analyzed using mean, standard deviation, t-test, and the consistency between the two assessors by Intraclass Correlation Coefficient (ICC). In conclusion, the research finding reveals that


1) the 7th graders who learned Ratio, Proportion and Percentage by integrating STEAM Education had significantly higher post-test score than pre-test score at the significance level of .01


2) the 7th graders who learned Ratio, Proportion and Percentage by integrating STEAM Education had STEAM skills in the level of good ( M = 10.17 Out of 15 full points) and the Intraclass Correlation Coefficient (ICC) was 0.88.


3) the 7th graders were satisfied with integrating STEAM Education to the Ratio, Proportion and Percentage lessons at high level ( M = 4.35 ).

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)