อิทธิพลของภูมิทัศน์บริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าร้านกาแฟ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภาณุมาศ จงจัดกลาง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ภิสรา อ้อพิมาย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ฉัตรชัย อินทสังข์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • พงษ์นรินทร์ ปิดจัตุรัส คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์บริการ, การกลับมาใช้บริการซ้ำ, ร้านกาแฟ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอิทธิพลของภูมิทัศน์บริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าร้านกาแฟ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจจากลูกค้าที่ใช้บริการในร้านกาแฟ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญและเชื่อมั่นด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าระหว่าง 0.844 - 0.945 การศึกษานี้ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์บริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า องค์ประกอบของภูมิทัศน์บริการ (ด้านการตกแต่งและด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก) มีความสำคัญและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า นอกจากนี้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารร้านกาแฟควรเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย ช่วยซึมซับความรู้สึก ความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่ความความสัมพันธ์ระยะยาวในการรักษาลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้า

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กฤชศิยา อุนะพำนัก. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มาใช้บริการภัตตาคารลอยน้าเรือริเวอร์ไซด์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาญชัย พรมมิ. (2563). อิทธิพลของภูมิทัศน์การบริการและคุณภาพการบริการต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(4), 88-97.

แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2565). 2020 ปีทองตลาดกาแฟในบ้าน. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2020/10/3-factors-boosts-at-home-coffee-market/

ภคินี วัชรปรีดา, จินดา งามสุทธิ, และจุลสุชดา ศิริสม. (2556). ผลกระทบของภูมิทัศน์การบริการที่มีต่อการตอบสนองทางอารมณ์และการรับรู้ คุณภาพการบริการ ของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมประเภทบูทีค. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(2), 108-114.

มนัสนันท์ จันทร์เพ็ง. (2558). แนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเภทย่านชุมชนเก่า กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. Veridian E-journal, 8(2), 2932.

วรษา ธัญญวรรณ์. (2562). ภูมิทัศน์บริการและคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่พักแบบครบวงจรในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2565). ธุรกิจกาแฟในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=319

สมสกุล นิรันดรไชย. (2554). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟคั่วบดสแตนต์อโลน (Stand-Alone) ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bitner, M. J. (1992). Servicescapes: The impact of physical surroundings on customers and employees. Journal of Marketing, 56(2), 57-71.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed). New York: John Wilay & Sons.

Cooper, D. R., & Schindler, P. S. (2006). Business research methods (9th ed). Boston, MA.: McGraw-Hill Irwin.

Demoulin, N., & Willems, K. (2019). Servicescape irritants and customer satisfaction: The moderating role of shopping motives and involvement. Journal of Business Research, 104, 295-306.

Dong, P., & Siu, N. Y. M. (2013). Servicescape elements, customer predispositions and service experience: The case of theme park visitors. Tourism Management, 36, 541-551.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice-Hall.

Inthasang, C., Pimpan. S., & Khamphroh. A. (2019). The effect of servicescape on customer satisfaction. Journal of Southern Technology, 12(2), 193-204.

Kim, W. G., & Moon, Y. J., (2009). Customers’ cognitive, emotional, and actionable response to the servicescape: A test of the moderating effect of the restaurant type. International Journal of Hospitality Management, 28(1), 144–156.

Kitapci, O., Akdogan, C., & Dortyol, İ. T. (2014). The impact of service quality dimensions on patient satisfaction, repurchase intentions and word-of-mouth communication in the public healthcare industry. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 148, 161-169.

Lin, A. Y.-S., Huang, Y.-T., & Lin, M.-K. (2015). Customer-Based Brand Equity: The Evidence from China. Contemporary Management Research, 11, 75-94.

Namasivayam, K., & Lin, I. Y. (2008). The servicescape. In Handbook of Hospitality Operations and IT. New York: Elsevier Publishers.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##

1 2 > >>