ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ กรณีศึกษา: จุดเชื่อมต่อการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร

Human factors influencing perception of van service quality: A case study of transport hub in Bangkok

Authors

  • เอกวิทย์ จิตต์ธรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะการบริหารและจัดการ
  • ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะการบริหารและจัดการ

Keywords:

ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์;คุณภาพการใช้บริการรถตู้;จุดเชื่อมต่อการขนส่ง, human factors;service quality van;transport hub

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ณจุดเชื่อมต่อการขนส่ง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ จำแนกตามปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการรถตู้ ณจุดเชื่อมต่อการขนส่ง โดยงานวิจัยนี้ผู้วิจัยศึกษารถตู้สายฟิวเจอร์ปารค์รังสิต-จัตุจักร จำนวน 385 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ t-Test และ One-way ANOVAในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้โดยรวมของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้ใช้บริการที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ด้านการตอบสนองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ใช้บริการที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ด้านการดูแลเอาใจใส่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ไม่แตกต่างกัน

The objectives of this research were (1) to study the perception level of van service quality at a transport hub and (2) to compare the perception level of van service quality at transport hub by human factors. A sample of 396 passengers who use van service at a transport hub, future park rangsit – chatuchak, was drawn through an accidental sampling method. Questionnaires were used as research instrument and data were analysed by statistical program. The statistics used in this study were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. t-Test and One-way ANOVA were used to test the hypotheses. The results showed that 1) The perception level of van serice quality of passsengers was at medium level. 2) Passengers with different gender had statistically significant difference in the perception of van service quality regading responsiveness at the level of 0.05. In addition, passengers with different age had statistically significant difference in the perception of van service quality regading empathy at the level of 0.05. When considered other human factors, there were no difference in the perception of van service quality.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)

1 2 3 4 > >>