แนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอ้อมน้อยโสณชนูปถัมภ์|Approaches for Academic Administration to Promote Active Learning in Omnoisophonchanupatham School

Authors

  • เจนจิรา มารุ่งเรือง คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พัชราภา ตันติชูเวช คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Keywords:

การบริหารวิชาการ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, Academic Administration, Active Learning

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ 2) เสนอแนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ประชากรในครั้งนี้ คือ            ครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จำนวน 80 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 7 คน  ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 66 คน คิดเป็นร้อยละ 82.50 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น PNI Modified  และ การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด จากการลำดับความต้องการจำเป็น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด

 2) แนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ มีทั้งสิ้น 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา  พบว่า มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสังคม และ มีการจัดทำหลักสูตรให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ  (2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา พบว่า การส่งเสริมการใช้เทคนิค วิธีการ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (3) การวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ส่งเสริมการวัดผล ประเมินผลที่หลากหลาย ตามสภาพจริง และจัดทำสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียน (4) การส่งเสริมให้ผู้สอนพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยี พบว่า ส่งเสริมการพัฒนาครู และส่งเสริมการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี

 

The purpose of this research were 1) to examine current and desirable conditions of academic administration to promote active learning in Omnoisophonchanupatham school, and 2) to present the approaches of academic administration to promote active learning in Omnoisophonchanupatham school. The population in this research were   85 school administrators and teachers. And there were 66 respondents, representing 82.50 percent. The research instruments were the questionnaires. The reliability of the questionnaire was 0.96. And the semi- structured interviews. The statistical analysis of data were percentage, arithmetic mean (µ), standard deviation (σ), the modified priority needs index (PNI Modified) and content analysis.

The research results were found that

1) The current conditions of academic administration to promote active learning in Omnoisophonchanupatham school in overall was at the high level. And the desirable conditions of academic administration to promote active learning in Omnoisophonchanupatham school in overall was at the highest level. The order of the priority needs index showed the teaching management in educational institution was at the highest level.

2) The approaches of academic administration to promote active learning in Omnoisophonchanupatham school were: (1) The curriculum development of educational institution found that that the curriculum was adjusted to be appropriate for learners and society and the curriculum was created to enable learners to develop competence, (2) The teaching management in educational institution found that it promoted the use of various techniques, methods, and learning management activities and opportunities for students to engage in hands-on practice, (3) The measurement, evaluation and transfer of learning outcome found that it promotes a variety of measurement and evaluation based on real situations and the preparation of information to be used as data for student development, (4) The development and use of media technology for education found that it promoted teacher development and promoted the development and use of technological media.

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Chanta, P. (2020). The Guidelines for Academic Administration of the School Administrators in Nakhon

Nayok Primary Educational Service Area Office [Master of Education Program in Educational Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi]. [Translate]

Dechakup, P. and Yindeesuk, P . ( 2020). Active Learning Through Collaborative PLC for Development.

Bangkok: Chula Press. [Translate]

Likert, R. (1976). Management Styles and the Human Component. New York: AMACOM. [Translate]

Ministry of Education. (2022). Education Policy of Ministry of Education Fiscal year 2022.

https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/. [Translate]

Office of the Basic Education Commission. (2019). Guidelines for Supervision to Develop and Promote

Active learning according to the Policy of Reducing Study Time and Increasing Learning time. https://www.academic.obec.go.th/: [Translate]

Office of the Education Council. (2016). The National education plan B.E. (2017-2036). First edition.

Banngkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd. [Translate]

Paenkaew, J., Sungkhachat B., Damsangsawat N., and Namjaroen T. (2009). Authentic Assessment. Burapha University Journal of Education, 30(1), 22 – 33. [Translate]

Wahachat, R. (2012). Academic Administration of Basic Education Institutions. Songkhla: Namsilp

Atvertise Company Ltd. [Translate]

]

Downloads

Published

2024-11-20

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)