แนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอ้อมน้อยโสณชนูปถัมภ์
คำสำคัญ:
การบริหารวิชาการ, การเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ 2) เสนอแนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ประชากรในครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ จำนวน 80 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 7 คน ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 66 คน คิดเป็นร้อยละ 82.50 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น PNI Modified และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด จากการลำดับความต้องการจำเป็น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด
2) แนวทางการบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ มีทั้งสิ้น 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พบว่า มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสังคม และ มีการจัดทำหลักสูตรให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ (2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา พบว่า การส่งเสริมการใช้เทคนิค วิธีการ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (3) การวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ส่งเสริมการวัดผล ประเมินผลที่หลากหลาย ตามสภาพจริง และจัดทำสารสนเทศเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียน (4) การส่งเสริมให้ผู้สอนพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยี พบว่า ส่งเสริมการพัฒนาครู และส่งเสริมการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Chanta, P. (2020). The Guidelines for Academic Administration of the School Administrators in Nakhon
Nayok Primary Educational Service Area Office [Master of Education Program in Educational Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi]. [Translate]
Dechakup, P. and Yindeesuk, P . ( 2020). Active Learning Through Collaborative PLC for Development.
Bangkok: Chula Press. [Translate]
Likert, R. (1976). Management Styles and the Human Component. New York: AMACOM. [Translate]
Ministry of Education. (2022). Education Policy of Ministry of Education Fiscal year 2022.
https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/. [Translate]
Office of the Basic Education Commission. (2019). Guidelines for Supervision to Develop and Promote
Active learning according to the Policy of Reducing Study Time and Increasing Learning time. https://www.academic.obec.go.th/: [Translate]
Office of the Education Council. (2016). The National education plan B.E. (2017-2036). First edition.
Banngkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd. [Translate]
Paenkaew, J., Sungkhachat B., Damsangsawat N., and Namjaroen T. (2009). Authentic Assessment. Burapha University Journal of Education, 30(1), 22 – 33. [Translate]
Wahachat, R. (2012). Academic Administration of Basic Education Institutions. Songkhla: Namsilp
Atvertise Company Ltd. [Translate]
]
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.