การพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน|Development of Knowledge and Awareness in Garbage Management for Fifth Grad

Authors

  • สันติ ศรีสวนแตง ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • ประสงค์ ตันพิชัย ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • อภิชาต ใจอารีย์ ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • นิรันดร์ ยิ่งยวด ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • ณภัทร ทองมั่ง ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140
  • นันทนา จิตรแก้ว ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 73140

Keywords:

เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา, การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ, agricultural and environmental education, participatory development, garbage management

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่าย มหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมความพร้อม  ทำการศึกษาบริบทเกี่ยวกับการจัดการขยะของครัวเรือนนักเรียน 2) ระยะออกแบบและดำเนินการ นักวิจัย ครู และผู้บริหารโรงเรียนร่วมกันออกแบบและดำเนินการจัดกิจกรรม3) ระยะสรุปและสะท้อนผล ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 205 คน หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมดำเนินการสรุปและสะท้อนผลโดยการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ครัวเรือนของนักเรียนไม่ได้ทำการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งถังขยะในชุมชนมีไม่พอเพียง  และคนในชุมชนไม่ทิ้งขยะตามจุดที่มีภาชนะรองรับการออกแบบกิจกรรมพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะจัดในลักษณะของฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ 1) แหล่งที่มาของขยะ 2) ประเภทและการคัดแยกขยะ 3) สัญลักษณ์เกี่ยวกับขยะ 4) หลักการจัดการขยะ และ 5) ขยะในชีวิตประจำวันผลการจัดกิจกรรมพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะของนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการขยะก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากเท่ากันผลการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้มีส่วนร่วมเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดีช่วยลดขยะจากบ้านเรือนได้ และเห็นว่าควรมีการเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น

This action research aimed to enhance knowledge and awareness for garbage  managementthroughparticipation between network of university, local school and community. Three stages of the research process   were 1) preparatory phase. Context study on garbage management of students household, 2)Design and Implementation phase. Researchers joined with teachers and administrator designed the activities plan and Implementation together. 3) Conclusion and reflection phase. Conduct data collection using questionnaires, tests, before and after the activities for the 250 fifth grade students of AnubanKamphaengsaenschoolwho registered in the first semester 2016.  This project concluded with focus group discussion. Data were analyzed using descriptive statistics include percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The conclusions were as follows. Student householdsdo not separatewaste disposal. Community prepares trash not sufficient and householdsdo not leave garbage on the preparing containers. With regards to thedevelopment, research team corporative with the local school team designed 5 learning centers in garbage management 1) the source of the waste 2) type and separate of garbage 3) symbol of waste 4) the waste management and 5) waste management in everyday life. It was found that knowledge in garbage management of the students after joined the activitieswere higher than before. Awareness on waste management of students beforeand after joined the activitiesimproved at a high level as well. From the concluding discussion and reflection accounts, the participant reported thatwas a great activity to reduce waste from the household.  There should be increases the number of participant.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)