ผลการพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการอาร์แอลพีซี เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

The Results of Best Practices Development on Learning Management by RLPC Process for Enhancing Mathematical Competency of 12th Graders through Professional Learning Community

ผู้แต่ง

  • วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • วัชรินทร์ เกษร์สุวรรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • มนต์เมืองใต้ รอดอยู่ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • ศศิธร ศรีพรหม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
  • กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

กระบวนการอาร์แอลพีซี, สมรรถนะทางคณิตศาสตร์, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, RLPC process, Mathematical competency, Professional Learning Community

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการอาร์แอลพีซี และ 2) ระบุแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการอาร์แอลพีซี ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีการเปิดชั้นเรียนจำนวน 3 วงรอบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกหลังจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อนคิดหลังการเปิดชั้นเรียน และแบบประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์จากชิ้นงานรวบยอด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ หลังใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการอาร์แอลพีซี ภาพรวมอยู่ในระดับสัมฤทธิ์ผล นักเรียนจำนวนร้อยละ 37.50 และ 62.50 มีสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับเป็นแบบอย่างได้ และระดับสัมฤทธิ์ผล ตามลำดับ 2) แนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการอาร์แอลพีซี เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ 2.1) ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิมและเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียน ด้วยการพูดคุย ทบทวนความรู้เดิม และกระตุ้นความสนใจ 2.2) ขั้นเรียนรู้ประสบการณ์ ด้วยการอธิบายเนื้อหาและตัวอย่างให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ 2.3) ขั้นฝึกประสบการณ์ ด้วยการให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจากใบกิจกรรม และ 2.4) ขั้นตรวจสอบความรู้ ด้วยการให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และนำเสนอแนวทางการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

The objectives of this research were 1) to identify best practices in learning management and 2) to study mathematical competence on data presentation after implementing RLPC-based learning management through a professional learning community. The context of online learning was from the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), which has opened 3 class rounds, the sample group of 32 students of 12th graders, in the first semester in Academic Year 2021 at Rachineeburana School. The tools used in the research were the lesson plan, the record forms after learning management, the reflective thinking forms after opening the class and the collecting assessment forms of Mathematical Competency analysis were percentage values, arithmetic mean standard deviation. and worksheet competency of the students.

The results of the research showed that 1) Mathematical competence after using learning management with the RLPC learning management; the overall was at the achievement level, it was found that 37.50 percent and 62.50 percent and able to be exemplary and achievement level respectively. 2) the best practice of learning management was the presentation of information with the RLPC on mathematical competence, including 2.1) revisit previous experiences and preparation stage,  review background knowledge to  for getting the students ready to learn and to create the students’ interest. 2.2) learning experience stage, teachers focused on presentation and examples with students to understand lessons. 2.3) practice experience stage, students practiced from the worksheets. Then the students shared their ideas and find the best process to get the correct answers and 2.4.) check stage, teachers and students helped to summarize the knowledge, advantages and disadvantages of thinking process, lastly offering benefits of knowledge to use in daily life.

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)