กลยุทธ์การบริหารวิชาการภายใต้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก ในกลุ่มเครือข่ายบางคนทีแควอ้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การบริหารวิชาการ, ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้, โรงเรียนขนาดเล็ก, The strategies of academic administration, Learning Loss, Small-size schoolบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารวิชาการภายใต้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มเครือข่ายบางคนทีแควอ้อมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และ 2) ศึกษากลยุทธ์ แนวทางหรือวิธีการในการบริหารวิชาการภายใต้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มเครือข่ายบางคนทีแควอ้อมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 10 คน ครู 66 คน รวม 67 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.963 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารวิชาการภายใต้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มเครือข่ายบางคนทีแควอ้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) กลยุทธ์ แนวทางหรือวิธีการในการบริหารวิชาการภายใต้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มเครือข่ายบางคนทีแควอ้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ได้แก่ 2.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ผู้บริหารต้องวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นตามบริบทของสถานศึกษาโดยบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่น ผู้บริหารต้องวางแผนการดำเนินงานที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนกลุ่มที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ 2.2) ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ผู้เรียนศึกษาและค้นคว้าได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้ครูมีความคิดเชิงบวกที่อยากจะพัฒนาผู้เรียน มุ่งเน้นการอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น 2.3) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน คือ การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล มุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา โดยการวัดและประเมินตามสภาพจริง รายบุคคล เป็นระยะๆ ทั้งนี้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผู้เรียน 2.4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ รูปแบบการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ผู้บริหารร่วมสังเกตการณ์ กิจกรรม PLC และ 2.5) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ เทคนิคการพัฒนาสื่อ โดยพัฒนาสื่ออย่างหลากหลาย สู่การปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) และการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน
คำสำคัญ : การบริหารวิชาการ, ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้, โรงเรียนขนาดเล็ก
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Azim Premji Foundation. (2021). Loss of learning during the pandemic. Azim Premji University.
Cardinal, J. (2020). “Lost Learning”: What does the research really say?. Geneva, Switzerland:
International Baccalaureate Organization. [Translate]
Conto, C., Akseer, S., Dreesen, T., Kamei, A., Mizunoya, S. & Rigole, A. (2020). COVID-19: Effects
of school closures on foundational skills and promising practices for monitoring and mitigating learning loss. The Journal of Innocenti Working Paper, 87(13), 30-32. https://www.unicef-irc.org/publications/1144-covid19-effects-of-school-closures-on-foundational-skills-and-promising-practices. [Translate]
DiPietro, G., Biagi, F., Costa, P., Karpiski Z., and Mazza, J. (2020). The likely impact of COVID-19 on
education: Reflections based on the existing literature and international datasets. Luxembourg: Publications Office of the European Union. [Translate]
Fitzpatrick, R., Korin, A., & Riggall, A. (2020). An international review of plans and actions for school
reopening. Berkshire: Education Development Trust. [Translate]
Hanover Research. (2020). Best Practices for Learning Loss Recovery. Hanover Research. [Translate]
Likert, R. (1976). Management styles and the human component. New York: AMACOM. [Translate]
Ministry of Education. (2003). National Education Act. B.E. 2542 (1999). And Amendments. (Second
National Education Act B.E. 2545. Bangkok: Ministry of Education. [Translate]
Teeradirek, M. (2022). Private Kindergarten Schools Academic Management Strategies Based on
the Concept of Foundations for Young Adult Success. [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. [Translate]
Kumdeeboon, N. (2022). The Guideline Development for Educationnal Administrative
Guidelines under the Office of Udonthani Primary Educationnal Service Areas 4. [Master dissertation, Mahasarakham University]. [Translate]
Office of the Education Council. (2021). The study of Learning loss on fundamental education learners
in Covid-19: Environment, Lesson and educational quality development guidelines. http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1932. [Translate]
Office of the Education Council. (2022). Learning loss recovery. First edition. Bangkok: S.B.K. company
printing, 9-10. [Translate]
Dechomeng, P. (2019). The Study of Academic Matters Management Performance of Small
- sized Schools and Guidelines for Improvement. [Master dissertation, Rajabhat MahaSarakham University]. [Translate]
Liangcheepchop, P. (2018). Academic Management Strategies of Primary Schools Based on
the Concept of Thais 4.0. [Doctor dissertation, Chulalongkorn University]. [Translate]
Policy and Planning Division of Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office. (2020).
Annual report on fiscal year 2020. [Translate]
Tongliemnak, P. (2021). Survey of the effect COVID-19 that is important turning point for
education in the world. https://workpointtoday.com/education-covid-19-4. [Translate]
Ruangjai, S. (2004). Study of the guildelines for developing the community participation in
fundamental education of school under Phranakorn Si Ayutthaya Primary Educational Service Area. [Master dissertation, Rajabhat Phranakorn Si Ayutthaya University]. [Translate]
Wongyai, W., and Patphol, M. (2020). Learning Design in The New Normal. [Graduate School,
Srinakharinwirot University]. [Translate]
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.