แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
关键词:
การสร้างความสัมพันธ์, โรงเรียนกับชุมชน, การบริหารสถานศึกษา摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2)ศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 โรงเรียน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 24 คน และครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 96 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา รวมทั้งสิ้นจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ด้านการสนับสนุนกิจกรรมในโรงเรียน และด้านการให้บริการชุมชน
- แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอัมพวา มีความสัมพันธ์ทางบวก มีดังนี้
1) การให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับการวางแผนงาน การกำหนดนโยบายร่วมกับชุมชนเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน
2) การให้บริการชุมชนของโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีการประสานงานร่วมกันในการให้ความร่วมมือในงานวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ งานพิธีทางศาสนา ของชุมชน
3) การเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมในโรงเรียน การให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทสนับสนุนกิจกรรมสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
4) การประชาสัมพันธ์ ในการที่จะให้ชุมชนได้รับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นประจำ
Downloads
参考
Gold, S.E. (2000). Communication organizing neighborhood high school : Promises and Dilemmas in building parent-educator partnership and collaborations. Proquest Digital Dissertations. [Translated]
Kumnak, K. (2018).Opportunity expnsion schools mangements techers openion under the Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 2 [Master of Education Thesis, Burapa University]. [Translated]
Pachanavon,A.&Koedsuwan,S. (2021). The relationship enhancement between schools and communities of schools unders Saraburi primary Education service area office 2. Journal of MCU Social Science Review, 10(3), 210–224. [Translated]
Phuangsomjit, C.(2017). Establishing School–Community Relationships. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10 (2),13-43. [Translated]
Pongsakul, S. (2013). Factors and model of school-community relations strategies [Doctor of Philosophy Thesis. Silpakorn University]. [Translated]
Pungkho, S. (2015). A Study of Existing Administration on The Relationship Between Schools and Communities of Educational Opportunity Expansion Schools of Khao Chakan Cluster Under The Sakaeo Primary Educational Service Area Office 1 [Master of Education Thesis, Burapa University]. [Translated]
Srimongkol, K.(2022). Relationship Building between Schools and Communities Affecting School Administrations under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat University. [Translated]
Temarunroong, P. (2014). The Administration of the catholic schools/ in chiangmai diocese. Silpakorn University. [Translated]
Weerachart, P. (2009). The Model Development of the Relationship Communities and School. Bangkok: Odeon Store. [Translated]
Downloads
已出版
期
栏目
License
Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.