การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2|

The Development of Science Learning Achievement on Fluid pressure and Buoyancy Force Topic for K-8 Students Using Inquiry-based Learning (5Es), Predict-Observe-Explain Techniques and Computer Simulation

Authors

  • จิราวรรณ รักคง คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • วิทัศน์ ฝักเจริญผล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • ศักดิ์สิทธิ์ ใจผ่อง โรงเรียนท่ามะวิทยามคม 144 ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es), เทคนิค POE, การใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์, ความดันและแรงพยุงของของเหลว, มัธยมศึกษาปีที่ 2, Inquiry-based Learning (5Es), Predict-Observe-Explain Techniques, Computer Simulation, Fluid pressure and Buoyancy Force, K-8

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 104 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทดสอบโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบการทดลองกลุ่มเดียวและมีการวัดผลการทดลอง 2 ครั้ง และแบบการเปรียบเทียบข้อมูล 1 กลุ่ม กับค่ามาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความดันและแรงพยุงของของเหลว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค POE และการใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research were 1) to compare learning achievement on fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students through using inquiry-based learning (5Es), predict-observe-explain techniques and computer simulation between pre-learning and post-learning, and 2) to compare learning achievement on fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students through using inquiry-based learning (5Es), predict-observe-explain techniques and computer simulation between after learning with 70% criterion. The sample were 104 K-8 students from 3 classrooms. They are purposively selected. The instruments for research consisted of 1) lesson plans on fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students through using inquiry-based learning (5Es), predict-observe-explain techniques and computer simulation, and 2) science achievement test on fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students (10 multiple-choice questions). The data of this study were analyzed by using Mean, Standard Deviation, t-test for Dependent sample and t-test for One sample. The results of the study revealed that 1) post-learning of fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students through using inquiry-based learning (5Es), predict-observe-explain techniques and computer simulation higher than pre-learning with statistical significance at the level of .05 and 2) post-learning of fluid pressure and buoyancy force topic for K-8 students through using inquiry-based learning (5Es), predict-observe-explain techniques and computer simulation higher than the criteria of 70 percent with statistical significance at the level of .05

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-05-26

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)