การพัฒนากิจกรรมการเรียนเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาแนวคิดคลาดเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3|Development of Active Learning to Fix the Misconceptions in Basic Circuit Topic for K-9 Students
Keywords:
การเรียนรู้เชิงรุก, แนวคิดคลาดเคลื่อน, วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น, มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3, Active Learning, Misconceptions, Basic Circuit, K-9 studentsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลคะแนนทดสอบ ความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 106 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 2) แบบทดสอบความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชนิดตัวเลือกสองลำดับขั้น จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาเปรียบเทียบผลคะแนนทดสอบความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยการวิเคราะห์ ด้วยการทดสอบสถิติอ้างอิงค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมผลคะแนนทดสอบความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง วงจร ไฟฟ้าเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3dสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก อย่างมีนัยสำคัญ (t(105) = 23.70 , p < 0.001)
The objectives of this research were 1) to develop the learning activity using Active Learning in the topic of basic circuit for K-9 students, and 2) to compare the students understanding before and after the learning activity. The samples were 106 K-9 students from 3 classrooms. They are purposively selected. The instruments for this research consisted of 1) lesson plans using Active Learning in the topic of basic circuit for K-9 students (IOC 0.80 - 1.00), and 2) science conceptual test (15 multiple-choice questions). The data was analyzed using mean, standard deviation, and dependent sample t-test. The result showed that students’ conceptual understanding in the topic of basic circuit significantly improved (p < 0.05) after the use of the active learning lesson plans.