A Study of the Expectations and Needs of Stakeholders towards Master of Education Program in Physical Education

A Study of the Expectations and Needs of Stakeholders towards Master of Education Program in Physical Education

ผู้แต่ง

  • ธีรนันท์ ตันพานิชย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความต้องการ, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, สาขาวิชาพลศึกษา, Expectations, Needs, Stakeholders, Program in Physical Education

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 4 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้สอน จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน รวมจำนวน 17 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 8 คน นิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน รวมจำนวน 17 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 3 นิสิตที่สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 11 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 12 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 7 คน รวมจำนวน 31 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 4 ผู้ใช้บัณฑิต โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นไปยังหน่วยงาน องค์กรที่บัณฑิต ทำงานอยู่ มีตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวด หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 31 คน ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถาม online ผ่าน google form ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร การสอน และการวิจัยการศึกษา ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ค่า IOC มีค่า 0.67-1.00 ทุกข้อคำถาม 
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคาดหวังต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา พบว่า บัณฑิตในหลักสูตรสามารถสร้างและออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ทาง พลศึกษาที่มีคุณภาพบนฐานการวิจัยและหลักวิชาการที่เหมาะสมกับบริบทของของผู้เรียน ชุมชน และสังคม สามารถ ออกแบบการวิจัยและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ทางพลศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถเผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ตามหลักทางวิชาการและการวิจัยทางพลศึกษา สู่การเป็นผู้น าด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถแสดงออกและปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพทางพลศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
2) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะที่จำเป็นของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ดังนี้ ด้านความรู้ บัณฑิตต้องมีการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองตลอดเวลาตลอดชีวิต สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานได้ ต้องมีความรู้ที่เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต ต้องมีความรู้ความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ของตนเอง และสามารถแสวงหาองค์ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง ด้านทักษะสามารถออกแบบและสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา การบริหารจัดการทางพลศึกษา และบัณฑิตต้องมีทักษะในการเลือกข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างมีสติและมีเหตุผล ต้องมีทักษะการควบคุมอารมณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสังคม ต้องมีทักษะการประกอบการอย่างมืออาชีพ ต้องมีทักษะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ต้องมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะการจัดการตนเองอย่างเป็นระบบ ต้องมีทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูล เพื่อสามารถสร้างการแข่งขันได้ และต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และรู้เท่าทันข้อมูลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ด้านเจตคติ บัณฑิตต้องมีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับตนเอง และผู้อื่น ต้องมีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่ทำตามคนอื่น ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องมีความซื่อตรงและเที่ยงธรรม ต้องมีความตระหนักคิด มีสติ ต้องมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ต้องมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ต้องมีทัศนคติเชิง บวก ต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องมีการ
เคารพในความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีความเคารพสถานที่ที่เข้าไปอยู่ ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองในองค์กร

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Phinda Warasunun Sirichai Sriphrom Khomkrit Chaowaphanich Witas Phatcharoenphon and Jiraporn

Kakaew. (2017). Evaluation of the Bachelor of Education program. Learning management

field Faculty of Education and Development Sciences Kasetsart University. 14th National

Academic Conference, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus.

Suthiphan Theeraphong, Nirumon Suwansri, Thip Khamyu, Jiraporn Rodpuang, and Nongyao

Nuchanart (2021). Expectations and needs of stakeholders regarding the Master of Education

program. Field of study: early childhood and primary education. Journal of Early Childhood

Education Management, 3(2): 1 -10.

Thaweeporn Pengmak, Rosukon Saengmanee and Siriphan Siriphan. (2021). Stakeholder opinions.

in developing a master's degree program in nursing science Faculty of Nursing Narathiwat

Rajanagarindra University. Narathiwat Rajanagarindra University Journal, 13(3): 140-158.

Yada Chawalakul Naphakamon Chana and Latthaphon Chanthonglang. (2018). Stakeholder needs

detrimental to the desired characteristics of the Master of Architecture program Field of study:

Industrial design. Naresuan University Journal of Art and Architecture, 9(1): 168-176.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)

1 2 > >>